รับซื้อเครื่องเสียง Yamaha | รับซื้อโฮมเธียเตอร์ Yamaha

บริการรับซื้อเครื่องเสียง Yamaha รับซื้อโฮมเธียเตอร์ Yamaha บริการถึงหน้าบ้าน ตีราคาฟรี ไม่ช้า ให้คำตอบในไม่กี่นาที เพียงแค่ add line หาเรา เราพร้อม ไปรับถึงบ้าน และจ่ายเงินสดทันที line : @buyall หรือโทรหาเรา 091-1206831

รับซื้อเครื่องเสียง Yamaha | รับซื้อโฮมเธียเตอร์ Yamaha

การที่คุณจะขาย เครื่องเสียง Yamaha หรือหาคน รับซื้อเครื่องเสียง Yamaha รับซื้อโฮมเธียเตอร์ ไม่ยาก ไม่ว่าอยู่จังหวัดไหน เราพร้อมไปถึงที่ เพียง line id มาที่ @buyall

…หรือหากยังไม่ต้องการขาย:

นอกจาก รับซื้อเครื่องเสียง Yamaha รับซื้อโฮมเธียเตอร์ Yamaha แล้ว เรายัง รับจำนำเครื่องเสียง Yamaha รับจำนำโฮมเธียเตอร์ Yamaha หรือ ขายฝากเครื่องเสียง Yamaha ขายฝากโฮมเธียเตอร์ Yamaha อัตราค่าบริการที่ต่ำที่สุด สนใจติดต่อ line @buyall

– โทรากุสึ ยามาฮ่า บิดาแห่ง Yamaha ชายผู้พลิกประวัติศาสตร์เครื่องดนตรีในญี่ปุ่น

โทรากุสึ ยามาฮ่า (山葉 寅楠) เกิดในปี 1851 พ่อของเขาเป็นซามูไรในแคว้นคิชู ซึ่งสนใจวิชาดาราศาสตร์และวิศวกรรม ด้วยความที่ญี่ปุ่นเพิ่งเปิดประเทศบวกกับความที่พ่อของเขาสนใจวิทยาศาสตร์ทำให้โทรากุสึถูกส่งไปเข้าโรงเรียนหลักสูตรตะวันตกทันสมัยตั้งแต่เด็ก เขายังใช้เวลาว่างช่วยพ่อวิจัยงานดาราศาสตร์และวิศวกรรมจนทำให้เขาพลอยสนใจเรื่องพวกนี้ไปด้วย เมื่อเขาอายุ 21 ปี ครอบครัวของเขาก็อพยพไปอยู่โอซาก้า

เมื่อเขาย้ายมาโอซาก้า โทรากุสึก็เริ่มรู้ตัวว่าเขาสนใจงานจักรกล โดยเฉพาะเรื่องของการทำนาฬิกา เขาเข้าศึกษาการทำนาฬิกาและระบบกลไกในโรงเรียนที่นากาซากิโดยมีวิศวกรชาวอังกฤษเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาเป็นเวลา 2 ปี หลังจากนั้นเขาก็เปิดร้านทำนาฬิกาของตัวเองแต่ด้วยเงินทุนอันน้อยนิดทำให้ต้องปิดตัวลงอย่างรวดเร็ว เขากลับมาโอซาก้าและนำวิชากลไกที่เคยเรียนรู้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงเครื่องมือการแพทย์ เมื่ออายุ 32 โทรากุสึก็ได้รับหน้าที่ถูกส่งไปประจำในโรงพยาบาลที่ฮามามัทสึเพื่อดูแลเครื่องมือการแพทย์ที่นั่น

ขณะนั้นโรงเรียนประถมในญี่ปุ่นเริ่มมีการสอนดนตรีด้วยรีดออร์แกนแล้ว และขณะที่โทรากุสึทำงานอยู่ในเมืองเล็กๆอย่างฮามามัทสึ ชื่อเสียงเรื่องฝีมือการซ่อมของเขาก็ถูกพูดถึงมากมาย วันหนึ่ง Mason & Hamlin รีดออร์แกนจากอเมริกาที่ใช้สอนวิชาดนตรีในโรงเรียนประถมละแวกนั้นก็เกิดพังจนใช้การไม่ได้ ทางโรงเรียนไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใครจึงลองขอร้องให้เจ้าหน้าที่ดูแลเครื่องมือการแพทย์อย่างโทรากุสึซ่อมดู และเขาตอบตกลง โทรากุสึไม่เพียงแกะซ่อม แต่เขาถอดอะไหล่ทุกชิ้นและสเก็ทต์ชิ้นส่วนทั้งหมดของรีดออร์แกน สาเหตุที่เขาทำแบบนี้เพราะโทรากุสึมองเห็นลู่ทางของตลาดเครื่องดนตรีนั่นเอง โดยเขาตั้งใจจะสร้างรีดออร์แกนด้วยตัวเอง เมื่อเขาซ่อมรีดออร์แกนของโรงเรียนสำเร็จจนกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง โทรากุสึจึงมั่นใจว่าตัวเองมีดีพอจะสร้างรีดออร์แกนเหมือนกัน

แม้เขามีมีฝีมือด้านกลไกและพิมพ์เขียวที่ร่างไว้แต่เขายังขาดเงินทุน คาวาอิ คิซาบุโร เจ้าของโรงแรมซึ่งเป็นมิตรสหายของเขาจึงหยิบยื่นน้ำใจเป็นเงินทุนให้โทรากุสึนำไปซื้อเครื่องใช้จำเป็นสำหรับการทำรีดออร์แกน ฟุกุชิม่าโทโยสากุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลก็คอยช่วยเขาพัฒนา นอกจากนี้โอจิมะ ยากิชิ เจ้าของร้านขายปลาซึ่งมักเล่นซามิเซ็ง (เครื่องสาย) เป็นงานอดิเรกก็ช่วยแนะนำเรื่องการจูนเครื่องดนตรีด้วย…63 วันผ่านไป รีดออร์แกน 39 คีย์ตัวแรกของโทรากุสะก็สำเร็จทำให้เขากลายเป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่สร้างเครื่องดนตรีตะวันตก

ในยุคที่การคมนาคมเป็นเรื่องลำบาก อีกทั้งยังไม่มีรถไฟสายฮามามัทสึ-โตเกียว โทรากุสึ ยามาฮ่าและวิศวกรผู้ติดตามอีกหนึ่งคนช่วยกันหอบหิ้วรีดออร์แกนแห่งความหวังไปถึงเมืองหลวง พวกเขาเดินเท้ากันกว่า 250 กิโลเมตรเพื่อให้ผู้อำนวยการ Tokyo Music School (หรือ Tokyo University of the Arts ในปัจจุบัน) สถาบันสอนดนตรีชื่อดังช่วยประเมินคุณภาพให้ ทว่ารีดออร์แกนที่เขาและมิตรสหายเพียรพยายามสร้างมา 2 เดือนถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลว่าการจูนนิ่งยังไม่ได้มาตรฐาน

แม้เขาจะผิดหวังแต่ก็ไม่ได้สิ้นหวังไปด้วย โทรากุสึศึกษาการจูนรีดออร์แกนอย่างขมักเขม้นจนเชี่ยวชาญในที่สุด เขาสร้างออร์แกนตัวที่ 2 และนำกลับไปให้ Tokyo Music School ช่วยประเมินอีกครั้ง หนนี้เขาทำสำเร็จและได้เสียงชื่นชมว่าคุณภาพดีไม่แพ้ออร์แกนที่ผลิตจากต่างประเทศ

จากประสบการณ์เรียนรู้การจูนด้วยส้อมเสียงนี่เองที่ทำให้เขานำมันมาเป็นตราสัญลักษณ์บริษัทภายหลัง

ในปี 1887 โทรากุสึก็ตั้งบริษัท Nippon Gakki (ก่อนภายหลังจะเปลี่ยนชื่อเป็น Yamaha) และเปิดโรงงานผลิตด้วยตัวเอง โดยเริ่มจากพนักงานเพียง 3 คน หลังจากที่วัฒนธรรมตะวันตกหลั่งไหลเข้ามาในญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ออร์แกนของเขาก็ขายดีตามเป็นผลพลอยได้ เพียง 2 ปีให้หลังกิจการของเขาก็งอกเงยจนมีคนงานทั้งหมด 100 คนและเพิ่มกำลังการผลิตออร์แกน 250 ตัวต่อปี แม้กิจการของเขากำลังไปได้สวย แต่ความนิยมออร์แกนในสหรัฐฯเริ่มตกต่ำลง และสิ่งที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นคืออัพไรท์เปียโนที่มีราคาย่อมเยาว์

ขณะนั้นรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมเต็มที่เพื่อขยายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการส่งเสริมธุรกิจใหม่ๆที่เพิ่งสร้างตัวขึ้น ในปี 1889 กระทรวงศึกษาฯก็มอบทุนให้โทรากุสึไปดูงานในโรงงานผลิตเปียโนที่สหรัฐฯเป็นเวลา 5 เดือน เขาศึกษาทั้งองค์ความรู้, เทคนิคต่างๆมากมาย เขากลับญี่ปุ่นมาพร้อมกับอุปกรณ์และเครื่องจักรในสร้างเปียโน 1 ปีต่อมา เปียโนที่ผลิตโดยฝีมือชาวอาทิตย์อุทัยก็ถือกำเนิดขึ้น

หน่วยงานภาครัฐและโดยเฉพาะกระทรวงศึกษาคือลูกค้ารายแรกของ Yamaha นโยบายส่งเสริมให้เด็กนักเรียนได้เรียนเครื่องดนตรีตะวันตกก็ยิ่งทำให้ Yamaha กลายเป็นเสือติดปีกเพราะพวกเขาคือผู้ผลิตเครื่องดนตรีตะวันตกรายแรกของประเทศ นอกจากนี้ Yamaha ก็เริ่มส่งออกเครื่องดนตรีวางจำหน่ายในหลายประเทศแถบเอเชียด้วย ในปี 1903 Yamaha ก็สร้างแกรนด์เปียโนตัวแรกสำเร็จ และแกรนด์เปียโนของพวกเขายังคว้ารางวัลใหญ่ที่งาน St. Louis World Exposition ในปี 1904 ด้วย กลายเป็นเกียรติภูมิสำคัญของบริษัทจนบัดนี้ ทำให้ Yamaha เป็นบริษัทที่บุกเบิกอุตสาหกรรมเครื่องดนตรีสากลในญี่ปุ่นจนมีหลายบริษัทผุดขึ้นมาในตลาดตาม

แม้ Yamaha Corp. ใช้เวลาเพียงไม่กี่ปีก็ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วจนขึ้นมาเป็นบริษัทผลิตเครื่องดนตรีชั้นนำของโลกได้ กระนั้นเองโทรากุสึก็ไม่เคยหลงลืมว่าเขามาจากไหน เขาทำตัวเป็นกันเองกับพนักงานจนกลายเป็นที่รักของทุกคน หากพนักงานคนไหนเกิดป่วยไข้ เขาจะพยายามไปเยี่ยมให้บ่อยที่สุด และเพิ่มเงินเดือนให้เพื่อนำไปเป็นค่ารักษาพยาบาล เพราะน้ำใจไมตรีคือสิ่งที่เขาเคยได้รับเมื่อครั้นตัวเองยากลำบาก

ในวันที่ 8 สิงหาคม ปี 1916 โทรากุสึ ยามาฮ่าก็จากโลกนี้ไปด้วยวัย 64 ปี เขาส่งต่อ Yamaha ให้ไคชิและเกนนิชิ 2 พ่อลูกจากตระกูลคาวาคามิคอยรับหน้าที่ดูแลบริษัทที่เขาเคยฟูมฟัก วันเวลาผ่านไป Yamaha ค่อยๆขยายไลน์การผลิตเครื่องดนตรีสากลทุกประเภทไปจนถึงระบบเครื่องเสียง นอกจากนี้ยังเปิดโรงเรียนสอนดนตรีเพื่อให้คนเข้าถึงเครื่องดนตรี Yamaha ให้ได้มากที่สุด ปัจจุบันโรงเรียนสอนดนตรี Yamaha มีสาขาอยู่ทั่วโลกและมีลูกศิษย์มากกว่า 6 ล้านคนนับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อครึ่งศตวรรที่แล้ว

จากพนักงานเพียง 3 คนในวันแรกของการเปิดบริษัท ร้อยกว่าปีให้หลัง Yamaha Corp. ก็เติบใหญ่จนมีพนักงานทั้งหมด 19,967 คน ซึ่งตัวเลขนี้ยังไม่รวมกับ Yamaha Motor ปัจจุบัน Yamaha กลายเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องดนตรีอันดับ 1 ของโลก แม้เปียโนและเครื่องดนตรีสากลจะไม่ใช่เครื่องดนตรีประจำชาติ แต่ด้วยความไม่หยุดอยู่กับที่และการรักษาคุณภาพของสินค้าเสมอมาทำให้เครื่องดนตรีตราสัญลักษณ์ส้อมเสียงจากแดนอาทิตย์อุทัยได้รับการยอมรับจากนักดนตรีทั่วทุกมุมโลกแบบไม่น้อยหน้าใคร

“ผมไม่เล่นเรื่องราคาหรือพยายามทำกำไรมากเกินควร ผมตั้งราคาโดยอิงจากต้นทุนและกำไรต้องไม่มากเกินพอดี — จงรับผิดชอบใส่ใจในคุณภาพของสินค้า หากคุณขายของดี, คนซื้อจะไว้ใจคุณ” คือปณิธานและจิตวิญาณอันเรียบง่ายแต่ทรงพลังของโทรากุสึ ยามาฮ่าที่ถูกส่งต่อผ่านเครื่องดนตรี Yamaha มากว่า 127 ปี

รับซื้อเครื่องเสียง Yamaha | รับซื้อโฮมเธียเตอร์ Yamaha

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *